ลักษณะการโกง พวกมิจฉาชีพจะสุ่มเบอร์โทรศัพท์และโทรไปหาเหยื่อใช้ข้อความอัตโนมัติ ทำให้ตกใจกลัว บางครั้งแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ โดยหลอกให้เหยื่อทำรายการที่ตู้ atm เป็นเมนูภาษาอังกฤษโดยบอกว่าทำเพื่อล้างรายการหนี้สิน หรือหลอกให้เหยื่อโอนเงินให้หน่วยงานของภาครัฐเพื่อตรวจสอบ พวกมิจฉาชีพจะอาศัยความกลัวและความรู้ไม่ทันของเหยื่อ มาเป็นข้ออ้างที่พวกมิจฉาชีพใช้หลอกเหยื่อ
1. บัญชีเงินฝากถูกอายัด/หนี้บัตรเครดิต จะเป็นข้ออ้างที่เหล่ามิจฉาชีพจะนิยมใช้กันมากที่สุดคือจะหลอกว่าเหยื่อถูกอายัดบัญชีเงินฝากแล้วก็เป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะจะเป็นเรื่องที่จะทำให้ตกใจและง่ายต่อการโน้มน้่าวที่จะทำให้เหยื่อหลงเชื่อโอนเงิน มิฉาชีพจะใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติแจ้งกลับผู้เสียหายว่าถูกอายัดบัญชีเงินฝากเพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ได้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือเป็นหนี้บัตรเครดิตและมีเสียงอัตโนมัติ เช่น คุณได้เป็นหนี้กับบัตรเครดิตกับทางธนาคาร ให้กด 0 เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่เมื่อผู้เสียหายตกใจก็จะต่อสายคุยกับมิจฉาชีพ และหลอกถามฐานะทางการเงิน และหลอกให้โอนผ่านตู้ ATM หากผู้เสียหายมีเงินมากจะหลอกให้ฝากเงินผ่านเครื่องฝากถอนอัตโนมัติ
2. โชคดีได้รับรางวัลใหญ่ มิจฉาชีพจะอ้างว่าเป็นตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่จากองค์กรต่าง ๆ มาแจ้งข่าวดีว่า คุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลใหญ่ที่มีมูลค่าสูง และเมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อก็จะหลอกให้โอนเงินค่าภาษีให้
3. โอนเงินผิด มิจฉาชีพที่ใช้ข้ออ้างนี้จะมีข้อมูลของผู้เสียหายที่ค่อนข้างมากโดยจะโทรศัพท์ไปยังสถาบันการเงิน ที่ผู้เสียหายใช้บริการอยู่โดยเปิดบริการขอสินเชื่อผ่านทางโทรศัพท์ เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว สถาบันการเงินจะโอนสินเชื่อเข้าบัญชีเงินฝากของเหยื่อ มิจฉาชีพจะโทรไปหาผู้เสียหายโดยบอกว่าโอนเงินผิดไปเข้าบัญชีของผู้เสียหาย ขอให้โอนเงินคืน และเมื่อผู้เสียหายตรวจสอบว่ามีเงินโอนเข้ามาก็รีบโอนเงินกลับไปให้กับกลุ่มวิชาชีพ โดยไม่รู้ว่าเป็นเงินสินเชื่อที่มิจฉาชีพโทรไปขอในนามของเหยื่อ โดยที่จริงแล้วพวกมิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อทำการโอนเงินให้
4. คืนเงินภาษี ใช้ข้ออ้างว่าจะคืนเงินภาษีและจะถูกใช้ในช่วงที่มีการยื่นและมีการขอคืนภาษี โดยจะอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสรรพากร แจ้งว่าผู้เสียหายได้รับภาษีคืนเป็นเงินจำนวนหนึ่งต้องยืนยันและทำตามที่บอกหน้าตู้ ATM